โดย สำนักงานเลขานุการกรม กรุงเทพมหานคร
1 เดือนที่แล้ว
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน จัดการประชุม "ติดตามการบริหารราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2/2568" โดยมี พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นประธาน พร้อมด้วย นางนลินนาถ ไกรนรา รองอธิบดีฯ ฝ่ายปฏิบัติการ นางสุจิตรา แก้วไกร ฝ่ายบริหาร และนางปรีดา วิสาโรจน์ รองอธิบดีฯ ฝ่ายพัฒนา ตลอดจนผู้ตรวจราชการกรม ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมฯ/สถานพินิจฯ ผู้อำนวยการสำนัก/กอง หัวหน้ากลุ่มงานในส่วนกลาง และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 7 - 01 ชั้น 7 กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และรูปแบบออนไลน์
ทั้งนี้ อธิบดีฯ ได้เน้นย้ำให้ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมฯ/สถานพินิจฯ นำนโยบายต่างๆ ที่ได้แจ้งในที่ประชุมไปถ่ายทอดให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจและนำไปสู่การปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งกำชับเรื่องการจัดทำแผนเผชิญเหตุ และการขึ้นทะเบียนสกร. ของเด็กและเยาวชนในความดูแล และแจ้งการดำเนินงาน 6 ประเด็น ได้แก่ 1. การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมสรรพากร กรมสวัสดิการคุ้มครองเเรงงาน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล และบริษัท กู๊ดเทค (ไทยแลนด์) 2. โครงการอบรม ประกอบด้วย ผลการอบรมอากาศยานไร้คนขับ - การต่อยอดโครงการฯ, อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพเกี่ยวกับการจัดสวนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 - 28 มี.ค. 68 ณ สวนนงนุชพฤษศาสตร์ จังหวัดชลบุรี และอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพการผลิตเตาเผาขยะไร้มลพิษ 31 มี.ค. - 4 เม.ย. 68 ณ ศูนย์ฝึกและอบรมฯ เชียงใหม่ 3. โครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ โดยมีการปรับเปลี่ยนการนำเสนอ การจัดทำแฟ้มประวัติของเด็กและเยาวชน และนวัตกรรม 4. เรื่องคดีวินัย : ทิศทางการลงโทษของ อ.ก.พ. กระทรวงยุติธรรม 5. การประชุมคณะกรรมการสงเคราะห์และผู้อำนวยการในเขต ซึ่งควรมีการนำเสนอสถานการณ์อาชญากรรมในเขต ปูมปัญหา แนวทางแก้ไข นโยบายใหม่ๆ ของกรม และเชิญผู้บริหารไปร่วมพูดคุย และ 6. กิจกรรมวันกรรมการสงเคราะห์ พร้อมทั้งฝากเรื่องการประชาสัมพันธ์การรับบริจาค "โครงการ 1 การให้ได้ 2 เท่า" ในห้วงของการยื่นภาษีปีนี้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สำหรับเด็กและเยาวชนในความดูแลต่อไป
ขณะที่รองอธิบดีฯ ฝ่ายปฏิบัติการ ได้กล่าวถึงประเด็นโครงการคืนคนดีสู่สังคม (ไทยเข้มแข็ง), โครงการเตรียมความพร้อมผู้ปกครองในการดูแลเด็กและรับเด็กและเยาวชนกลับคืนสู่ครอบครัว พ.ศ. 2568, การเปิดดำเนินการบ้านกึ่งวิถี (Halfway House), โครงการพินิจรุ่นใหม่ ขับขี่ปลอดภย ใส่ใจกฎหมาย และเข้ารับการทดสอบขอทำใบอนุญาตขับรถ และกิจกรรมการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับบุคลากรของกรมพินิจฯ ในสถานที่ควบคุม, การย้ายเด็กและเยาวชน (กลุ่มติด) มาศูนย์ฝึกและอบรมฯ พระนครศรีอยุธยา, กิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบและจัดวางระบบการควบคุมดูแลและมาตรการความมั่นคงปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จ, การสนับสนุนวัสดถ อุปกรณ์ (เหล็ก) ในการฝึกวิชาชีพเด็กและเยาวชน ทั้งยังเน้นย้ำในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย กรณีเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การทำร้ายร่างกายกันของเยาวชน ซึ่งทุกหน่วยต้องมีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิดและละเอียดรอบคอบ
ด้านรองอธิบดีฯ ฝ่ายบริหาร ได้ฝากฝ่ายเลขาฯ แจ้งแก่ที่ประชุมทราบใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1. การเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร : ให้ทุกหน่วยดำเนินการและถือปฏิบัติตามหนังสือเวียนที่ ยธ 06104/ว.206 และ ยธ 06104/ว.260 2. การขอรับการจัดสรร : จะต้องชี้แจงเหตุผลในแต่ละรายการ เช่น การซ่อมแซม ต้องบอกเหตุผลความจำเป็นที่ต้องซ่อม รวมถึงอายุการใช้งาน พร้อมแนบเอกสารประกอบการพิจารณาให้ครบถ้วน และหากกรณีฉุกเฉิน จำเป็นเร่งด่วนให้จัดทำการขอรับการจัดสรรมายังกรมพร้อมแนบรายละเอียด และ 3. เรื่องการจำหน่ายรถยนต์ และรองอธิบดีฯ ฝ่ายพัฒนา ได้กล่าวถึงการดำเนินงาน 5 ประเด็น 1. การพัฒนาระบบงานคดี : การส่งตัวเด็กและเยาวชนที่ไม่ถูกควบคุมตัวเข้ารับการบำบัดยาเสพติดแบบสมัครใจ, การใช้ข้อคำถาม R&N เพิ่มเติม, การดำเนินงานกำกับการปกครอง 2. การให้บริการสุขภาพเด็กและเยาวชน : แผนบริหารทันตกรรม, การประเมินด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานที่ควบคุม, การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 3. การดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม : ผลการประเมินองค์กรคุณธรรม, การเตรียมบุคลากรของกรมเพื่อร่วมประเมิน ITA ประเด็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บุคคลภายนอกเพื่อประเมิน ITA 4. การดำเนินโครงการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ และ 5. การพัฒนาและการวิจัย : โครงการพัฒนาการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนด้วยกระบวนการจัดการความรู้ และการรายงานสถิติการกระทำผิดซ้ำ