|
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน”นายกรัฐมนตรี เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ทั่วประเทศ ด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม พร้อมพัฒนาประเทศไปสู่ 4.0 ต่อไป
|
วันนี้ (9 กุมภาพันธ์ 2561) เวลา 09.00 น. ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม มอบนโยบายแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,800 คนประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ตัวแทนหน่วยงานราชการในส่วนภูมิภาค และบุคลากรที่เป็นวิทยากรระดับจังหวัด พร้อมด้วย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
เข้าร่วมรับฟังนโยบายโดยพร้อมเพรียงกัน การพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ว่า รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และแผนการปฏิรูป เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานของทุกส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่า เพื่อผลิตกำลังคน การสร้างพลังทางสังคม และลดการเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นการกระจายโอกาสอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เพื่อการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นที่การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” และการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง
และยั่งยืนบนพื้นฐานการเติบโตและก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้มีแผนงานโครงการและงบประมาณลงไปขับเคลื่อน ซึ่งมีลักษณะต่างคนต่างทำ ขาดการบูรณาการร่วมกัน ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน และกลายเป็นภาระให้กับประชาชน เช่น กรณีการก่อสร้างถนน แต่ชาวบ้านไม่อยากให้สร้าง หรือไม่รู้เรื่องมาก่อน หรือ กรณีการวางแผนการทำงานที่ไม่พร้อมกันระหว่างกรมชลประทานกับกรมทางหลวง และอื่น ๆ จากที่มาและปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการบริหารงานในรูปแบบ “ไทยนิยม ยั่งยืน” เพื่อบูรณาการงาน ของรัฐบาลและทุกกระทรวง ซึ่งคำว่า “ไทยนิยม” นั้น ไม่ใช่การสร้างกระแส “ชาตินิยม” แต่อยู่บนพื้นฐานของ
“ความเป็นไทยโดยไม่ทิ้งหลักสากล”และ “ไทยนิยม” ก็ไม่ใช่ “ประชานิยม” แต่อย่างใด งานสำคัญลงในพื้นที่เป้าหมาย 83,151 หมู่บ้าน/ชุมชน ประกอบด้วย 1) ระดับชาติ 2) ระดับจังหวัด 3) ระดับอำเภอ และ4) ระดับตำบล ซึ่งทั้งหมดคือทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการ ไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล ถือเป็นแกนหลัก ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทำหน้าที่ทั้งการสร้างการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และการสร้างความร่วมมือกับกลไกของหน่วยงานต่าง ๆ
เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่
ทั้งมิติด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ด้วยการสร้างความสามัคคี ปรองดอง จัดให้มีการทำสัญญาประชาคมให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพื่อรับรู้และปฏิบัติตามร่วมกัน 2) คนไทยไม่ทิ้งกัน ด้วยการดูแลผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 3) ชุมชนอยู่ดีมีสุข ด้วยการพัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพ และรายได้ให้แก่ ประชาชน ผ่านการปฏิรูปโครงสร้างการผลิต ภาคการเกษตร และการท่องเที่ยว โดยชุมชน 4) วิถีไทยวิถีพอเพียง ด้วยการส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต รวมทั้งเสริมสร้าง วินัยการออมในทุกช่วงอายุ 5) รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชน ในเรื่อง สิทธิ หน้าที่ และกฎหมาย เพื่อการเป็นพลเมืองที่ดี 6) รู้กลไกการบริหารราชการ ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชน ทั้งเรื่องกลไกการบริหารราชการแผ่นดินแต่ละระดับ และการบริหารงบประมาณ ที่มุ่งประโยชน์แก่ประชาชน 7) รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม ด้วยการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับ ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และหลักธรรมาภิบาล 8) รู้เท่าทันเทคโนโลยี ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยี ให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องผ่าน โครงการสำคัญ เช่น เน็ตประชารัฐ เป็นต้น 9) ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยการบูรณาการทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างครบวงจร และ 10) งานตามภารกิจของส่วนราชการ/หน่วยงาน (Function) ซึ่งทั้ง 10 เรื่องดังกล่าว ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน
และจะขยายผลเพื่อต่อยอดในเรื่องอื่น ๆ
ต่อไป ให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยวางระบบและแนวทางการปฏิรูปให้นโยบายต่างๆ เพื่อการพัฒนาสู่ฐานรากของประเทศ โดยเฉพาะนโยบายเชิง โครงสร้างที่จะยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขัน และลดความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้น จากการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนนี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อประเทศไทย ในปัจจุบันเท่านั้น แต่จะส่งผลที่ดีในอนาคตด้วย จึงถือเป็นภารกิจสำคัญของคนไทย และทุกฝ่ายที่จะร่วมกันขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน
เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง
มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป ในการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยขอให้ไปสร้างการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับประชาชนด้วยความตั้งใจ ส่งผลให้เกิดความรักสามัคคีปรองดองกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหา ความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมให้น้อยลง ขณะเดียวกัน การทำงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้มีการบูรณาการ ร่วมกับประชาชนด้วยการยึดถือความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร
แก่ประชาชน
พร้อมร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรควบคู่ไปด้วยซึ่งจะส่งผลให้
ผลิตผลทางการเกษตรดีขึ้น มีความรู้สึกสบายใจและเกิดความประทับใจที่จะเข้าปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพระราชดำริศาสตร์พระราชาของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งตรงตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 อย่างแท้จริง |